การศึกษากายวิภาคกบ

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

ระบบขับถ่าย

ระบบขับถ่ายของกบ (Excretory system)



      ระบบขับถ่ายของกบเริ่มที่ไต (Kidney) เป็นอวัยวะขับถ่ายของเสียของกบ ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ กบในระยะตัวอ่อนจะขับของเสียในรูปแอมโมเนีย แต่ในระยะโตเต็มวัยจะขับของเสียออกมาในรูปของยูเรีย นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่ปรับระดับน้ำ และเกลือแร่ของร่างกาย ไตกบเป็นอวัยวะคู่ วางแนบกับพื้นของช่องด้านหลังลำตัว เมื่อไตผลิตปัสสาวะ ปัสสาวะจะถูกเก็บในกระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ผ่านทางท่อไต (Ureter) แล้วขับออกนอกร่างกายทาง Cloaca ในกบเพศผู้ท่อไตจะนำทั้งปัสสาวะ และน้ำอสุจิ ในกบเพศเมียจะนำน้ำปัสสาวะเพียงอย่างเดียว ด้านบนของไตจะเห็นต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อ ลักษณะเป็นท่อสีเหลืองฝังอยู่ที่ไต อีกอวัยวะหนึ่งคือ ม้าม (Spleen) มีรูปร่างคล้ายหัวไม้ขีดไฟ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ระบบไหลเวียนเลือด

 ระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory system)

        หัวใจกบอยู่ในช่องอก มีหัวใจสามห้อง คือ Atrium 2 ห้อง Ventricle 1 ห้อง

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

        Atrium เป็นบริเวณที่ sinus venosus ทำหน้าที่รับเลือดจากหลอดเลือด Vein ใหญ่ โดย Atrium ขวา จะรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ จากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆของร่างกาย ยกเว้นปอด ลงสู่ Ventricle และส่งไปยังปอด และผิวหนังเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สทางหลอดเลือด Pulmocutaneous artery เลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดและผิวหนังเข้าสู่ Atrium ซ้าย ทางหลอดเลือด Pulmonary vein จาก Atrium ซ้าย เลือดจะไหลลง Ventricle และถูกปั๊มสู่หลอดเลือด conus arteriosus เพื่อนำเลือดจาก Ventricle ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ของกบ (Reproductive system)

          อวัยวะสืบพันธุ์ (Gonad) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และฮอร์โมนเพศ อวัยวะในเพศผู้เรียกว่า อัณฑะ (Testis) ส่วนในเพศเมียเรียกว่า รังไข่ (Ovary) 

 อ้างอ้ง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ในกบเพศผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเห็นอัณฑะเป็นก้อนกลมยาวอยู่บนไตทั้งสองข้าง เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผ่านออกไปทางท่อไต แล้วออกสู่ภายนอกร่างกายทาง Cloaca ในกบเพศเมียถ้ายังไม่ถึงฤดูผสมพันธุ์รังไข่จะมีลักษณะเป็นถุงบางๆ วางอยู่บนไต เมื่อถึงฤดูสืบพันธุ์ ภายในรังไข่จะมีไข่อยู่ภายในเป็นเม็ดสีดำ เมื่อไข่สุกเต็มที่จะอกทางท่อนำไข่ (Oviduct) ซึ่งเป็นท่อขดอยู่ข้างๆไตทั้งสองข้าง แล้วออกสู่ภายนอกร่างกายทาง Cloaca แล้วผสมกับอสุจิภายนอกร่างกาย

ภาพไข่ และท่อนำไข่ของกบเพศเมีย

ระบบหายใจ

ระบบหายใจของกบ (Respiratory system)


        ระบบหายใจของกบเริ่มจาก อากาศผ่านเข้ารูจมูกที่ด้านนอก เรียกว่า External nares ผ่านเข้าสู่รูเปิดเข้าไปในปากที่เรียกว่า Internal nares จากนั้นอากาศจะผ่านเข้าสู่ปอดทั้งสองข้าง เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซทางช่องลม (Glottis) โดยไม่ผ่านท่อลมเนื่องจากกบไม่มีคอ จึงไม่มีท่อลม

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปอด (Lung) มี 2 ข้างลักษณะเป็นถุงหยุ่นๆ มีช่องเล็กๆเหมือนรังบวบ ปอดของกบสามารถขยายตัวได้หลายเท่า เมื่อลมเข้าปอดเต็มที่ เป็นช่วงที่กบพองตัว ปอดจะขยายตัวเต็มช่องท้อง เนื่องจากกบไม่มีกระบังลมที่กั้นช่องอกจากช่องท้อง กบจะได้รับออกซิเจนจากการหายใจโดยการใช้ปอดประมาณร้อยละ 65 ของออกซิเจนทั้งหมด นอกจาดปอดแล้วกบยังหายใจทางผิวหนัง ผิวหนังของกบมีลักษณะบาง และมีหลอดเลือดฝอยจำนวนมากใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยกบจะได้รับออกซิเจนจากการหายใจทางผิวหนังประมาณร้อยละ 35 ของออกซิเจนทั้งหมด การหายใจทางผิวหนังมีความสำคัญมากในช่วงที่กบจำศีล

ภาพปอดเมื่อเป่าลมเข้าปอด

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหารของกบ (Digestive system)

ระบบย่อยอาหารของกบจะเริ่มจากปาก (Mouth) ในช่องปากจะมีช่องอาหาร (Gullet) เป็นทางเปิดเข้าสู่หลอดอาหาร (Esophagus)

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นท่อต่อจากปากสู่กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ผลักดันอาหารให้เคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหารโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหาร

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กระเพาะอาหาร (Stomach) มีลักษณะเป็นถุงกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ คล้ายอักษรรูปตัว J ทำหน้าที่เก็บอาหาร และย่อยอาหาร ตอนปลายของกระเพาะอาหารที่ติดกับลำไส้เล็ก มีกล้ามเนื้อสำหรับปิดเปิดกระเพาะอาหารคล้ายหูรูด เรียกว่า Pyloric sphincter ทำหน้าที่ควบคุมการส่งออกอาหารที่ย่อยจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลำไส้เล็ก (Small intestine) เป็นท่อทางเดินอาหารที่ยาวมาก ในกบลำไส้เล็กจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือลำไส้เล็กส่วนต้น เรียก Duodenum จะมีท่อจากตับ และตับอ่อน นำน้ำดีและน้ำย่อยมาเปิดเข้าสู่บริเวณนี้ และลำไส้เล็กส่วนท้าย เรียก Jejunoileum ซึงไม่แยกเป็นลำไส้เล็กส่วน Jejunum และileum โดยมีขนาดเล็กกว่า Duodenum จะเป็นส่วนที่ดูดน้ำและสารอาหารมากที่สุด

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) เป็นทางเดินอาหารต่อจาก Jejunoileum มีต่อมสร้างเมือก เพื่อให้อุจจาระเคลื่อนที่ได้สะดวก ในลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อยอาหาร มีการดูดซึมน้ำและสารอาหารได้บ้าง

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไส้ตรง (Rectum) อยู่ต่อมาจากลำไส้ใหญ่ เป็นที่รวมของกากอาหาร ด้านล่างของปลายไส้ตรงของกบมีท่อนำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ และท่อนำไข่ในเพศเมีย มาเปิดออกที่ด้านบนของไส้ตรงตอนปลาย เรียกไส้ตรงส่วนนี้ว่า Cloaca และรูเปิดของ Cloaca หรือ Cloaca opening ซึ่งเป็นทางออกของอุจจาระ ปัสสาวะ และเซลล์สืบพันธุ์


นอกจากอวัยวะที่ใช้ในการย่อยที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอวัยวะในการย่อยที่พบในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณท่อทางเดินอาหาร ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตับ (Liver) มี 3 พู ทำหน้าที่สร้างน้ำดี ซึ่งจะถูกเก็บส่งมาที่ถุงน้ำดี (Gall bladder) ก่อนจะเข้าสู่ Duodenum เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน โดยทำให้ไขมันแตกตัวเป็นกรดไขมันขนาดเล็ก

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตับอ่อน (Pancreas) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งไปยัง Duodenum