การศึกษากายวิภาคกบ

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหารของกบ (Digestive system)

ระบบย่อยอาหารของกบจะเริ่มจากปาก (Mouth) ในช่องปากจะมีช่องอาหาร (Gullet) เป็นทางเปิดเข้าสู่หลอดอาหาร (Esophagus)

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นท่อต่อจากปากสู่กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ผลักดันอาหารให้เคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหารโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหาร

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กระเพาะอาหาร (Stomach) มีลักษณะเป็นถุงกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ คล้ายอักษรรูปตัว J ทำหน้าที่เก็บอาหาร และย่อยอาหาร ตอนปลายของกระเพาะอาหารที่ติดกับลำไส้เล็ก มีกล้ามเนื้อสำหรับปิดเปิดกระเพาะอาหารคล้ายหูรูด เรียกว่า Pyloric sphincter ทำหน้าที่ควบคุมการส่งออกอาหารที่ย่อยจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลำไส้เล็ก (Small intestine) เป็นท่อทางเดินอาหารที่ยาวมาก ในกบลำไส้เล็กจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือลำไส้เล็กส่วนต้น เรียก Duodenum จะมีท่อจากตับ และตับอ่อน นำน้ำดีและน้ำย่อยมาเปิดเข้าสู่บริเวณนี้ และลำไส้เล็กส่วนท้าย เรียก Jejunoileum ซึงไม่แยกเป็นลำไส้เล็กส่วน Jejunum และileum โดยมีขนาดเล็กกว่า Duodenum จะเป็นส่วนที่ดูดน้ำและสารอาหารมากที่สุด

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) เป็นทางเดินอาหารต่อจาก Jejunoileum มีต่อมสร้างเมือก เพื่อให้อุจจาระเคลื่อนที่ได้สะดวก ในลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อยอาหาร มีการดูดซึมน้ำและสารอาหารได้บ้าง

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไส้ตรง (Rectum) อยู่ต่อมาจากลำไส้ใหญ่ เป็นที่รวมของกากอาหาร ด้านล่างของปลายไส้ตรงของกบมีท่อนำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ และท่อนำไข่ในเพศเมีย มาเปิดออกที่ด้านบนของไส้ตรงตอนปลาย เรียกไส้ตรงส่วนนี้ว่า Cloaca และรูเปิดของ Cloaca หรือ Cloaca opening ซึ่งเป็นทางออกของอุจจาระ ปัสสาวะ และเซลล์สืบพันธุ์


นอกจากอวัยวะที่ใช้ในการย่อยที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอวัยวะในการย่อยที่พบในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณท่อทางเดินอาหาร ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตับ (Liver) มี 3 พู ทำหน้าที่สร้างน้ำดี ซึ่งจะถูกเก็บส่งมาที่ถุงน้ำดี (Gall bladder) ก่อนจะเข้าสู่ Duodenum เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน โดยทำให้ไขมันแตกตัวเป็นกรดไขมันขนาดเล็ก

อ้างอิง : ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตับอ่อน (Pancreas) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งไปยัง Duodenum 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น